-
พารู้จัก AI ตรวจจับภัยคุกคามจากน่านฟ้า
สถานการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้งในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกกำลังเป็นความเสี่ยงให้เกิดสงครามในระดับภูมิภาค เห็นได้จากข่าวการโจมตีในประเทศแถบตะวันออกกลาง หรือสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่กินเวลามาอย่างน้อยเกือบ 3 ปี การโจมตีส่วนใหญ่ล้วนมาจากน่านฟ้า เช่น การจู่โจมด้วยจรวด, อาวุธยุทโธปกรณ์ หรือเครื่องบินรบ รวมถึงการนำเทคโนโลยีโดรนเข้ามาใช้ทางการทหารมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นหลายประเทศเริ่มออกมาตรการ รวมถึงนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากน่านฟ้า AI […]
-
ส่องนโนบายการส่งเสริมความปลอดภัยสาธารณะระดับท้องถิ่น
Security Pitch พาส่องนโยบายความปลอดภัยสาธารณะในจังหวัดต่าง ๆ ความปลอดภัยสาธารณะต้องมาเป็นที่หนึ่ง เหตุกราดยิงภัยคุกคาม หรือ ภัยสาธารณะต่างๆ นับเป็นปัจจัยอันดับแรก ๆ ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ภัยเหล่านี้สามารถเกิดได้ทุกเวลา และมักสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชนในพื้นที่ […]
-
กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วม เมื่อข้อมูลสำคัญต่อการวางแผน
เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยน อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า, คลื่นความร้อน เอลนีโญ หรือพายุในมหาสมุทรที่รุนแรงกว่าที่เคยมีมา รวมถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมสถานการณ์น้ำท่วมจึงเลวร้ายขึ้น แม้หลายหน่วยงานจะพยายามหาทางรับมือและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ […]
หน่วยดับเพลิงนิวยอร์กใช้ AI เพิ่มประสิทธิภาพ หลังเหตุร้ายเพิ่มขึ้น
สำนักงานดับเพลิงนิวยอร์ก (FNYD) กำลังนำเทคโนโลยี AI จากศูนย์วิจัย C2SMARTER ซึ่งเชี่ยวชาญด้านขนส่งอัจฉริยะมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุและหลบหลีกพื้นที่ที่มีการจราจรติดขัด
ความร่วมมือดังกล่าวคือการสร้าง Digital Twin โดยจะมีการเริ่มโครงการและทำวิจัยในพื้นที่ West Halem ของมหานครนิวยอร์กก่อนเป็นที่แรก
สำหรับเทคโนโลยีที่ศูนย์วิจัย C2SMARTER จะนำมาใช้ คือ “Traffic Digital Twin” ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ จำลองการจราจรบนท้องถนนที่เรียกว่า Simulation of Urban Mobility (SUMO) โดยสภาพแวดล้อมเสมือนจริงนี้จะรวบรวมข้อมูลการจราจรแบบเรียลไทม์จากกล้องและเซ็นเซอร์ มี AI ประมวลผล และเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้ขับขี่กับปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงไซเรนและสัญญาณแจ้งเตือนอื่น ๆ จากรถยนต์ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงนิวยอร์ก
ทั้งนี้ปกติแล้วเวลาเฉลี่ยเมื่อมีการแจ้งเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นจนถึงขั้นตอนที่เจ้าหน้าที่ไปถึงจุดเกิดเหตุ จะใช้เวลาโดยรวม 5 นาที 53 วินาที นี่เป็นสถิติเวลาที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงใช้ปฏิบัติงานในมหานครนิวยอร์ก ซึ่งแน่นอนว่าการเดินทางในแต่ละวันย่อมมีปัจจัยที่ส่งผลให้ไปถึงจุดเกิดเหตุช้าลง สาเหตุหนึ่งมาจาก “การจราจรที่ติดขัด” เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมในมหานครที่วุ่นวายมากขึ้นจากจำนวนประชากรผู้ใช้รถบนท้องถนน และเมืองที่แออัดขึ้นเพราะจำนวนร้านอาหารสตรีทฟู้ดบนท้องถนน
การจราจรที่ติดขัดส่งผลถึงเวลาการเดินทางของเจ้าหน้าที่โดยตรง ทำให้การเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุช้าลงถึง 10% โดยข้อมูลจากแถลงการณ์ของ Tandon School of Engineering มหาวิทยาลัยนิวยอร์กพบว่า จากที่เจ้าหน้าที่ควรใช้เวลาเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุโดยใช้เวลา 6 นาที 45 วินาที แต่การจราจรที่ติดขัดทำให้ต้องใช้เวลา 7 นาที 26 วินาที
ทั้งนี้หากโครงการนี้สำเร็จ นี่จะเป็นโครงการด้าน Digital Twin โครงการแรกของสหรัฐอเมริกา ที่จะเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้สำหรับตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ในมหานครนิวยอร์ก และอาจต่อยอดไปยังหน่วยงานอื่น ๆ และ มหานครอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกา
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OneForce
Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]