-
เครือข่ายโทรคมนาคม ถูกโจมตีได้เหมือนกัน
เป็นที่ฮือฮาเมื่อข่าวคราวการโจมตีและสร้างความวุ่นวายในงานมหกรรมกีฬาของมวลมนุษยชาติ หรือ “โอลิมปิก” ในครั้งนี้ เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น หลังเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศส เริ่มตีข่าวถึงการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่เครือข่ายโทรคมนาคมในประเทศ 6 แห่ง ขณะที่ก่อนหน้านี้ก็มีการลอบวางเพลิงทำลายระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง จนไม่สามารถออกจากชานชาลาได้ นับว่าเป็นความท้าทายสำหรับการรักษาความปลอดภัยงานมหกรรมระดับโลก การโจมตีโทรคมนาคมเกิดขึ้นได้ง่าย แต่รับมือยาก […]
-
โอลิมปิกปีนี้ มี AI ช่วยรักษาความปลอดภัย
คืนนี้แล้วที่จะมีพิธีเปิดมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง “โอลิมปิก” ครั้งที่ 33 ที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อมีการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับโลกแบบนี้ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือแผนการรองรับแฟนกีฬา จำนวนมหาศาลที่เดินทางไปยังฝรั่งเศส รวมถึงมาตรการการรักษาความปลอดภัย ซึ่งที่น่าสนใจคือปีนี้มีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาประยุกต์ใช้ด้วย […]
-
สายด่วนฉุกเฉินโทรไม่ติด ปัญหาใหญ่ที่กระทบหลายภาคส่วน
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา BT หรือ BT Group บริษัทโฮลดิ้งโทรคมนาคมอังกฤษ ถูกปรับเป็นเงินจำนวน 17.5 ล้านปอนด์ หลังเกิดเหตุเบอร์โทรฉุกเฉิน 999 ขัดข้องเป็นเวลานาน เมื่อช่วงฤดูร้อนปีที่แล้ว […]
เครือข่ายโทรคมนาคม ถูกโจมตีได้เหมือนกัน
เป็นที่ฮือฮาเมื่อข่าวคราวการโจมตีและสร้างความวุ่นวายในงานมหกรรมกีฬาของมวลมนุษยชาติ หรือ “โอลิมปิก” ในครั้งนี้ เริ่มทวีความรุนแรงขึ้น หลังเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สำนักข่าวและหนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศส เริ่มตีข่าวถึงการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่เครือข่ายโทรคมนาคมในประเทศ 6 แห่ง
ขณะที่ก่อนหน้านี้ก็มีการลอบวางเพลิงทำลายระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง จนไม่สามารถออกจากชานชาลาได้ นับว่าเป็นความท้าทายสำหรับการรักษาความปลอดภัยงานมหกรรมระดับโลก
การโจมตีโทรคมนาคมเกิดขึ้นได้ง่าย แต่รับมือยาก
จากเหตุการณ์การโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่เครือข่ายโทรคมนาคมทั้ง 6 แห่งในประเทศ งานนี้รัฐบาลฝรั่งเศส ออกมาระบุว่า สายโทรคมนาคมหลายสายตามหัวเมืองที่จัดการแข่งขันโอลิมปิกได้รับผลกระทบจากการก่อวินาศกรรม สายไฟเบอร์ สายโทรคมนาคมพื้นฐาน และสายโทรคมนาคมเคลื่อนที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจฝรั่งเศสกล่าวว่า พื้นที่อย่างน้อย 6 แห่งได้รับผลกระทบ รวมถึงพื้นที่รอบเมืองมาร์กเซย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโอลิมปิกและจัดแข่งขันเรือใบ
แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานเหตุเครือข่ายขัดข้องจากผู้ให้บริการโทรคมนาคม Bouygues, SFR และ Free แต่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเหล่านี้ก็ยืนยันว่า ได้รับผลกระทบ โดย Nicolas Chatin โฆษกของ SFR มองว่า นี่คือ “การก่อวินาศกรรม” อย่างชัดเจน มีลูกค้าของเครือข่ายได้รับผลกระทบถึง 10,000 ราย
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ฝรั่งเศสถูกโจมตีทางเครือข่าย เพราะเมื่อปี 2022 ที่ผ่านมา มีรายงานของ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ Zscaler ระบุว่า มีสาย Fiber-Optic เส้นใหญ่ถูกตัดขาด ในบริเวณใกล้กับเมือง Aix-en-Provence ประเทศฝรั่งเศส ส่งผลให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วโลกช้าลง
ในครั้งนั้นสายเคเบิลถูดตัดในบริเวณจุดเชื่อมต่อหลักไปยังสายเคเบิลอินเทอร์เน็ตใต้น้ำหลายเส้น ส่งผลให้การเชื่อมต่อขัดข้อง ส่งผลให้ทั้งยุโรปและพื้นที่อื่น ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ระหว่างเมืองมาร์กเซย-ลียง เมืองมาร์กเซย-มิลาน และเมืองมาร์กเซย-บาร์เซโลนา ประสบปัญหาขาดการเชื่อมต่ออย่างชัดเจน
การโจมตีเครือข่ายโทรคมนาคมโดยการทำลายสายเคเบิลไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในฝรั่งเศส ย้อนไปเมื่อปี 2009 ที่ Silicon Valley เมืองซานฟรานซิสโก มีการทำลายสายเคเบิลสื่อสาร 6 สาย จนเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์บ้าน และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ ในตอนนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าไม่ใช่เหตุการก่อการร้าย แต่อาจเป็นการลักขโมย หรือการทำลายบริษัทคู่แข่งใน Silicon Valley
และอีกกรณีคือเมื่อต้นปีที่ผ่านมา สายเคเบิลสื่อสารเอเชีย-ยุโรป ใต้ทะเลแดงถูกตัดขาดอย่างไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ทาง HGC Global Communications ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ตั้งอยู่ในฮ่องกง และเจ้าหน้าที่สหรัฐรายหนึ่งเปิดเผยว่า สายเคเบิลสื่อสารใต้ทะเลแดง 4 เส้นจาก 15 เส้นถูกตัดขาด ส่งผลให้การถ่ายโอนข้อมูลราว 25% ระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป ซึ่งรวมถึงประเทศไทย กลายเป็นอัมพาตและช้าลง ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าการโจมตีที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาคนี้อาจมีขบวนการใหญ่อยู่เบื้องหลัง
ก่อนหน้านี้ Versitron ผู้ให้บริการอุปกรณ์โทรคมนาคมในสหรัฐฯ ได้ออกมาแนะนำวิธีการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ในธุรกิจด้านโทรคมนาคม ไว้ดังนี้
1. กำหนดการเข้ารหัสขั้นสูง
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา วิธีการเข้ารหัสถูกพัฒนาขึ้นหลายวิธี เพื่อปกป้องเครือข่ายไฟเบอร์ออปติก โดยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจะต้องถูกเข้ารหัสเป็นข้อความ และเข้ารหัสด้วยคีย์เฉพาะ
แน่นอนว่าแฮ็กเกอร์ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้หากไม่มีคีย์สำหรับปลดล็อกข้อมูล ทั้งนี้การเข้ารหัสแบบออปติคัลเกี่ยวข้องกับทั้งการเข้ารหัสและถอดรหัส และคีย์จะถูกแจกจ่ายระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งคีย์นี้จะแชร์ให้กับผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตในเครือข่ายเท่านั้น
2. ใช้วิธีอำพรางข้อมูล (Steganography)
เป็นวิทยาการว่าด้วยการซ่อนข้อมูลภายในข้อมูลอื่น ๆ หรือซ่อนภายในวัตถุ (ทางกายภาพ) อื่น ๆ โดยหากใช้ร่วมกับการเข้ารหัสลับ ก็จะเป็นวิธีการปกป้องข้อมูลที่ปลอดภัยเป็นพิเศษ
ซึ่งต้องทำการ Modulate (กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่าง ของสัญญาณพาหะ (โดยปกติจะเป็นรูปคลื่นไซน์ความถี่สูง) เพื่อเข้ารหัสและส่งข้อมูล รวมถึงการ Modulate แบบ on-off keying (OOK), return-to-zero (RZ), non-return-to-zero (NRZ) และอื่น ๆ
3. จำกัดการเข้าถึงเครือข่าย
เนื่องจากเครือข่ายที่มีการใช้ Fiber-Optic ต้องรองรับจำนวนผู้ใช้งานจำนวนมาก ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเป็นเป้าให้ถูกโจมตีได้ ฉะนั้นจึงต้องมีการจำกัดการเข้าถึงเครือข่ายเฉพาะผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการแฮ็กจากทั้งภายในและภายนอกได้
นอกจากนี้หากเป็นการป้องกันในเชิงกายภาพ อาจต้องใช้วิธีการรักษาความปลอดภัย ด้วยการทำระบบควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่ที่เข้มงวด หรือติดเซ็นเซอร์เฝ้าระวัง ตรวจจับการบุกรุก รวมถึงนำระบบ AI มาใช้เพื่อเฝ้าระวัง และตรวจจับในพื้นที่
สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneForce”
Tel. : 061-462-6414, 064-189-9292
Line : @securitypitch
Email : [email protected]