-
พารู้จัก AI ตรวจจับภัยคุกคามจากน่านฟ้า
สถานการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้งในพื้นที่หลายแห่งทั่วโลกกำลังเป็นความเสี่ยงให้เกิดสงครามในระดับภูมิภาค เห็นได้จากข่าวการโจมตีในประเทศแถบตะวันออกกลาง หรือสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่กินเวลามาอย่างน้อยเกือบ 3 ปี การโจมตีส่วนใหญ่ล้วนมาจากน่านฟ้า เช่น การจู่โจมด้วยจรวด, อาวุธยุทโธปกรณ์ หรือเครื่องบินรบ รวมถึงการนำเทคโนโลยีโดรนเข้ามาใช้ทางการทหารมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นหลายประเทศเริ่มออกมาตรการ รวมถึงนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากน่านฟ้า AI […]
-
ส่องนโนบายการส่งเสริมความปลอดภัยสาธารณะระดับท้องถิ่น
Security Pitch พาส่องนโยบายความปลอดภัยสาธารณะในจังหวัดต่าง ๆ ความปลอดภัยสาธารณะต้องมาเป็นที่หนึ่ง เหตุกราดยิงภัยคุกคาม หรือ ภัยสาธารณะต่างๆ นับเป็นปัจจัยอันดับแรก ๆ ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ภัยเหล่านี้สามารถเกิดได้ทุกเวลา และมักสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชนในพื้นที่ […]
-
กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วม เมื่อข้อมูลสำคัญต่อการวางแผน
เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยน อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า, คลื่นความร้อน เอลนีโญ หรือพายุในมหาสมุทรที่รุนแรงกว่าที่เคยมีมา รวมถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมสถานการณ์น้ำท่วมจึงเลวร้ายขึ้น แม้หลายหน่วยงานจะพยายามหาทางรับมือและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ […]
ส่องนโนบายการส่งเสริมความปลอดภัยสาธารณะระดับท้องถิ่น
Security Pitch พาส่องนโยบายความปลอดภัยสาธารณะในจังหวัดต่าง ๆ
ความปลอดภัยสาธารณะต้องมาเป็นที่หนึ่ง
เหตุกราดยิงภัยคุกคาม หรือ ภัยสาธารณะต่างๆ นับเป็นปัจจัยอันดับแรก ๆ ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ภัยเหล่านี้สามารถเกิดได้ทุกเวลา และมักสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชนในพื้นที่ การมีนโยบายความปลอดภัยสาธารณะจึงเป็นเรื่องสำคัญของการบริหารเมืองให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างนโยบายความปลอดภัยสาธารณะที่ครอบคลุม เช่น
นโยบาย “9ดี” ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่หวังให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตในยามค่ำคืนได้อย่างปลอดภัย และยังครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ เพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน พร้อมผลักดันให้ประชาชนมีส่วนร่วม รายงานความสมบูรณ์ของไฟส่องสว่าง เป็นตัวกลางประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลดตัวเลขผู้เสียชีวิตบนท้องถนน ด้วยการปรับปรุงทางข้าม และทางเท้า ที่เป็นมิตรกับคนเดิน รวมทั้งมีแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับเขตพื้นที่
นอกจากนี้ยังมีโยบาย “ปลอดภัยดี” ประกอบด้วย 33 นโยบายย่อย ที่เน้นลดจุดเสี่ยงด้านอาชญากรรม อุบัติเหตุ และสาธารณภัย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
จะเห็นได้ว่าการผลักดันนโยบายด้วนความปลอดภัย นอกจากเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อผลักดันเศรษฐกิจในพื้นที่ ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยว จึงมีนโยบายความปลอดภัยสาธารณะ เช่น เมืองโคราช จังหวัดนครราชสีมา มี 8 นโยบายเร่งด่วน หนึ่งในนั้นคือ นโยบาย “โคราชเมืองแห่งความปลอดภัย” โดยกำหนดพื้นที่ปลอดภัย อำเภอละ 1 แห่ง ทั้งหมด 32 อำเภอ เพิ่มกล้องวงจรปิดกว่า 200 ตัว ทั่วเมืองโคราช พร้อมระบุพื้นที่เสี่ยง เกิดอาชญากรรมภายในเมืองโคราช
ด้านจังหวัดภูเก็ต เดินหน้าโครงการนักท่องเที่ยวปลอดภัย เพื่อช่วยเสริมศักยภาพ สร้างความเชื่อมั่น ภาคการท่องเที่ยวของประเทศ โดยเน้น 4 มาตรหลัก คือ
- ยกระดับเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพ ได้แก่ การพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา พื้นที่ท่องเที่ยวปลอดโรคพิษสุนัขบ้า มีทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ในระดับจังหวัด
- ยกระดับบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยขับเคลื่อน One Region One Sky Doctor (OROS) มีอาสาสมัครฉุกเฉินทางทะเล หรืออาสาสมัครฉุกเฉินชุมชน
- ยกระดับที่พักแหล่งท่องเที่ยว อาหาร และน้ำประปา ได้แก่ โรงแรมประเภท 4 ต้องผ่านมาตรฐาน GREEN Health Hotel, แหล่งท่องเที่ยว ผ่านมาตรฐาน GREEN Health Attraction, น้ำประปาในที่พัก, ที่กิน, ที่เที่ยว ผ่านเกณฑ์คุณภาพด้านโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ส่วนด้านอาหาร สถานประกอบการ ร้านค้าที่เกี่ยวข้อง ต้องผ่านมาตรฐาน SAN Plus ประเภทต่าง ๆ และทุกอำเภอมีร้านเมนูชูสุขภาพ
- ยกระดับศูนย์เวชศาสตร์การเดินทางและการท่องเที่ยว (Traveler Medical Center) เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้แก่ประชาชนคนไทยและนักท่องเที่ยว โดยได้ให้ 31 จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ ขับเคลื่อนตามนโยบาย “นักท่องเที่ยวปลอดภัย” ไปพร้อมกันด้วย
นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ที่กำลังดำเนินการเป็นไปตาม แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2566-2570
ขณะที่จังหวัดอุดรธานี หน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัยสาธารณะ เช่น สภ.เมืองอุดรธานี ซึ่งเป็น 1 ใน 15 สถานีนำร่อง โครงการ Smart Safety Zone 4.0 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ได้มีการวางนโยบายสร้างเมืองแห่งความปลอดภัย ปลอดอาชญากรรม โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน และท้องถิ่น สร้างเครือข่ายป้องกันอาชญากรรม กำหนดแผนป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ด้วยการปูพรมปรับพื้นที่และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่สาธารณะ
โครงการ SMART SAFTY ZONE 4.0 มีแนวทางในการคัดเลือกพื้นที่ในการดำเนินโครงการจาก 4 ปัจจัยสำคัญ คือ
- Risk คือ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดอาชญากรรมสูงมีสถิติการเกิดอาชญากรรมในช่วงที่ผ่านมามากกว่าพื้นที่อื่น และประชาชนต้องการให้มีการควบคุมอาชญากรรมในพื้นที่
- Landmark คือ เป็นสถานที่ที่มีร้านค้า สถานบริการ อาคารสำนักงานของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษา
- Economic คือ เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากเกิดอาชญากรรมในพื้นที่จะกระทบกับภาพลักษณ์ของประเทศ
- Size คือ มีพื้นที่ไม่เกิน 2 ตารางกิโลเมตร เพื่อให้สามารถระดมสรรพกำลัง เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้าไปควบคุมปัญหาอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งในเขตเทศบาลนครอุดรธานีได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ตามถนนสายหลัก สวนสาธารณะ และตามชุมชนครอบคลุมทั้ง 4 เขต รวมกว่า 1,300 ตัว เพื่อคอยสอดส่องดูแลความปลอดภัยของเมือง และยังมีระบบตรวจจับความเร็วรถ ตรวจจับป้ายทะเบียน และการแยกประเภทของรถอัจฉริยะ อีกทั้งยังเป็นจุดแจ้งเหตุ กระจายข้อมูลตรวจจับความเร็วรถยนต์ เข้า-ออกเมือง จุดบอด จุดอับสายตา พร้อมการเชื่อมต่อข้อมูลจากกล้องวงจรปิดส่งตรงให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการตรวจสอบ ความเคลื่อนไหว เมื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้ายสามารถส่งเจ้าหน้าที่เข้าไประงับเหตุได้อย่างทันท่วงที
ทั้งนี้จากนโยบายดังกล่าว จึงนำมาสู่การพัฒนา แพลตฟอร์มการบริหารจัดการความปลอดภัยสาธารณะต้นแบบ หรือ UDONCOP ขึ้น
UDONCOP แพลตฟอร์มบริหารจัดการความปลอดภัยสาธารณะอย่างเป็นระบบ
แพลตฟอร์มการบริหารจัดการความปลอดภัยสาธารณะต้นแบบ หรือ UDONCOP เป็นแพลตฟอร์มที่ Security Pitch พัฒนาขึ้น จากต้นแบบแพลตฟอร์ม OneForce ซึ่งล่าสุดเพิ่งได้รับรางวัล Smart City Solutions Awards 2024 สาขา Smart Living (ด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ) จาก Depa
UDONCOP คือแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ สถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี รวมถึงเพื่อพัฒนาบริการประชาชนให้รวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ ไม่ว่าจะเป็น
- ระบบรับแจ้งและบริหารจัดการเหตุแบบดิจิทัล (Digital Incident and Case Management)
- ระบบระบุตำแหน่งขั้นสูงจากโทรศัพท์มือถือ (Advanced Mobile Location : AML)
- ระบบยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC)
- ระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (E-Signature)
- ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)
- ระบบห้องควบคุมและสั่งการเหตุเสมือน (Visual Command and Control Center)
- ระบบรวบรวมข้อมูลเปิดเพื่อความตระหนักรู้ในสถานการณ์ด้านความปลอดภัยสาธารณะ (Open Source Intelligence for Public Safety)
- ระบบตู้ SOS และ Mobile App สำหรับให้ประชาชนแจ้งเหตุฉุกเฉินแบบ Real-Time Video Call กับเจ้าหน้าที่ได้ทันที
- ระบบการบริหารจัดทรัพยากรของเมือง (City Resource Management)
- ระบบจัดการสายตรวจดิจิทัล (Digital Patrol Management)
- ระบบบริหารจัดการดัชนีข้อมูลหลักอาชญากรรม (Crime Master Data Indices and Management)
- ระบบวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมขั้นสูง (Advanced Crime Intelligence)
และ ระบบ IoT ที่เชื่อมต่อกับระบบกล้องวงจรปิด(CCTV) ซึ่งมีระบบ AI Video Analytics ในการวิเคราะห์ภาพจากวิดีโอจากทุกกล้อง เพื่อดึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในภารกิจ รักษาความปลอดภัยสาธารณะ รวมทั้งการแจ้งเตือน (Alert) ตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ ซึ่งสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลาย ของทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนได้อย่างครบถ้วน
การบูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ไม่เพียงมุ่งหวังให้เกิดการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ได้ มาตรฐาน รองรับความต้องการที่หลากหลายได้อย่างครอบคลุม แต่ยังเป็นส่วนหนึ่ง ในการขับเคลื่อนจังหวัดอุดรธานีให้เป็น “เมืองอัจฉริยะ” ที่มีความปลอดภัยสำหรับประชาชน และนักท่องเที่ยวอย่างแท้จริงและยั่งยืน
ที่มา : นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร , แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2566-2570 , หอสมุดรัฐสภา